ทำความรู้จักกับ HTTP Status Code

KongRuksiam Studio
3 min readJan 19, 2018

--

HTTP Status Code เป็นตัวเลขชุดนึงที่ประกอบไปด้วยตัวเลข 3 ตัว เป็นโค้ดมาตรฐานที่แสดงขึ้นมาจากการตอบสนองของเซิฟเวอร์บนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งปกติเราจะคุ้นเคยกันเป็นประจำจะได้เจอกันบ่อยๆ คือ 404 Page Not Found ซึ่งตัว HTTP Status Code จะบอกถึงความหมายที่ต้องการให้ผู้ใช้งานได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์

รูปแบบของ HTTP Status Code ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆได้แก่
1.
HTTP status code
2.ประโยคอธิบายความหมาย

ยกตัวอย่างง่ายๆ!!!
404 Page Not Found

  • 404 คือ ตัวเลข 3 ตัวที่เป็น HTTP STATUS CODE
  • Page Not Found คือ ประโยคอธิบายความหมายในที่นี้ก็คือ หน้าเว็บไซต์ที่เราพยายามจะเข้าถึงนั้นไม่มีอยู่บนเซิร์ฟเวอร์

ตัวอย่าง HTTP STATUS CODE

4xx ความผิดพลาดจากเครื่องลูกข่าย (ไคลเอนต์)

  • 400 (Bad Request) ส่ง Request หรือข้อมูลผิดรูปแบบ
  • 401 (Unauthorized) ในความหมายของการเกิด error code 401 นี้หมายถึงหน้าเว็บที่เราจะเข้าถึงไม่สามารถแสดงและโหลดให้เสร็จได้จนกว่าเราจะเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่ถูกต้อง ฉะนั้นหากเราได้รับ 401 Error แสดงว่าข้อมูลที่เราป้อนไม่ถูกต้องหรือเราไม่มีบัญชีสำหรับใช้งานเว็บไซต์นั้นๆ อาจจะต้องมีการลงทะเบียนและลงชื่อเข้าใช้งานเพื่อยืนยันตัวตนก่อนทุกครั้ง ถึงจะสามารถใช้งานเว็บไซต์นั้นๆได้
  • 403 (Forbidden) หมายถึงหน้าของเว็บไซต์ที่เราพยายามเข้าถึงนั้นถึงขีดจำกัด หรือถูกห้ามไม่ให้เข้าถึง
  • 404 (Not Found) หมายถึงหน้าเว็บไซต์หรือทรัพยากรที่เราพยายามจะเข้าถึงนั้นไม่มีอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ (หนังสือบางเล่มใช้คำว่า เครื่องแม่ข่าย แทน เซิร์ฟเวอร์ ความหมายเดียวกันนะ)
  • 405 (Method Not Allowed) หมายถึงใช้คำสั่งที่ทรัพยากรนั้นไม่รองรับ ตัวอย่างเช่น การส่งข้อมูลจากแบบฟอร์มด้วยรูปแบบคำสั่ง GET แต่ปลายทางใช้คำสั่ง PUT เป็นต้น
  • 408 (Request Timeout) หมายถึง ส่งคำขอไปยัง Server หรือทำการโหลดหน้าเว็บ โดยเซิร์ฟเวอร์ไม่มีตอบสนองหรือส่งข้อมูลกลับมา แสดงว่าเราได้หมดเวลาการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ หรือ ใช้เวลาในการร้องขอนานเกินไปจนเกิด error นี้ขึ้นมา
  • 413 (Request Entity Too Large ) ทรัพยากรที่ร้องขอใหญ่เกินกว่าที่จะส่งด้วยโพรโทคอลปัจจุบันได้
  • 423 (Locked) ข้อมูลหรือทรัพยากรที่ต้องการเข้าถึงนั้นถูกล็อกอยู่
  • 429 Too Many Requests มีการส่ง Request มากเกินไปภายในระยะเวลาที่กำหนด

5xx เกิดปัญหาจากเครื่องแม่ข่าย (เซิร์ฟเวอร์)

  • 500 (Internal Server Error) หมายถึงมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบนเซิร์ฟเวอร์ โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาใด
  • 501 (Not Implemented) เซิร์ฟเวอร์ไม่เข้าใจคำสั่งร้องขอ หรือไม่ได้มีความสามารถให้ทำงานตามคำสั่งนั้น
  • 502 (Bad Gateway) เซิร์ฟเวอร์หนึ่งได้รับการตอบสนองของข้อมูลแบบผิดพลาดมาจากอีกเซิร์ฟเวอร์หนึ่ง ในขณะโหลดหน้าเว็บเพจนั้นๆ สรุปง่ายๆ คือ เกิดปัญหาการรับส่งข้อมูลระหว่างกันของ Server
  • 503 (Service Unavailable) ข้อมูลที่เราต้องการเข้าถึงนั้นไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวซึ่งเกิดจากการซ่อมบำรุงเซิร์ฟเวอร์
  • 504 Gateway Timeout เครื่องServer ที่ทำตัวเป็น Gateway หรือ Proxy ไม่ได้รับการตอบสนองภายในเวลาที่กำหนดจาก Server ต้นทาง

ช่องทางการสนับสนุน
🎓คอร์สเรียน Udemy | 🛒ซื้อของผ่าน Shopee

🌎 ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook | YouTube | TikTok

--

--

KongRuksiam Studio

🚀 เรียนรู้การเขียนโปรแกรมนอกห้องเรียน