แนวทางการเรียนรู้การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Development)

KongRuksiam Studio
7 min readNov 30, 2024

--

บทความที่จะแนะนำแนวทางและรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Web Developer

FrontEnd Development

FrontEnd Development คือ การพัฒนาโปรแกรมระบบหน้าบ้าน (UI : User Interface หรือ หน้าตาของแอพพลิเคชั่น) โดยผู้ใช้งานสามารถมองเห็นและมีส่วนร่วมหรือโต้ตอบภายใน Web Browser ได้

HTML5

HTML (HyperText Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ มีโครงสร้างภาษาโดยใช้ ตัวกำกับ (Markup Tag) เพื่อควบคุมการแสดงผลข้อมูล รูปภาพ และวัตถุอื่น ๆ ผ่านทาง Web Browser มาตรฐานของภาษา HTML มีการจัดโครงสร้างและการแสดงผลของเนื้อหา โดยมีคุณลักษณะเด่นที่สำคัญ เช่น

  • เล่นวิดีโอ
  • แสดงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
  • เก็บไฟล์ในลักษณะออฟไลน์
  • แสดงกราฟิก
  • การป้อนข้อมูลแบบใหม่ เช่น search, number, range, color, tel, url, email, อื่นๆ เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

HTML5 เบื้องต้น

CSS3

CSS (Cascading Style Sheets) เป็นภาษาที่ใช้สำหรับนำมาตกแต่งเอกสาร HTML ให้มีหน้าตาและสีสันที่สวยงามน่าใช้มากยิ่งขึ้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

CSS3 เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร CSS เบื้องต้น : ต้องมีพื้นฐาน HTML5

CSS Framework

คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถออกแบบเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น หน้าที่หลักของ CSS Framework คือ จัดเตรียมวางโครงสร้างหน้าเว็บขั้นพื้นฐานเอาไว้ให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเองทั้งหมด เช่น การสร้างปุ่ม แบบฟอร์ม เมนู เป็นต้น

ข้อดีของการใช้ CSS Framework

  • ลดระยะเวลาในการออกแบบเว็บไซต์
  • ลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งสามารถนำเว็บไซต์ที่ออกแบบนั้นไปทำงานในเบราว์เซอร์หรืออุปกรณ์ได้หลายแบบ เช่น Desktop , Mobile เป็นต้น
  • ตัวอย่าง CSS Framework เช่น Bootstrap , TailwindCSS เป็นต้น

JavaScript

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บร่วมกับ HTML เพื่อให้เว็บนั้นสามารถตอบสนองกับผู้ใช้งานหรือแสดงเนื้อหาที่แตกต่างกันไปโดยจะอ้างอิงตามเว็บบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บใช้งานอยู่เป็น ภาษาที่ทำงานฝั่งผู้ใช้ (Client Side Script) โดยเว็บเบราว์เซอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาและตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ทันที

ความสามารถของ JavaScript

  • สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลของ HTML,CSS ได้
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้
  • เก็บข้อมูลผู้ใช้ได้ เช่น การใช้ Cookie , Local Storage เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

JavaScript เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร JavaScript เบื้องต้น : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3

TypeScript

เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้การเขียนโปรแกรมด้วย JavaScript นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โค้ดที่ถูกเขียนด้วย TypeScript นั้นจะถูกแปลงให้เป็น JavaScript โดยความสามารถของ TypeScript นั้นสามารถไปใช้สำหรับการพัฒนาระบบได้ทั้งส่วนของ FrontEnd และ BackEnd

ทำไมต้องใช้ TypeScript

  • Superset ของ JavaScript หมายถึงสามารถใช้ทุกฟีเจอร์ใหม่ๆของ JavaScript ได้ (JavaScript ทำอะไรได้ TypeScript ก็ทำได้เหมือนกัน)
  • Compile ก่อนใช้งาน กล่าวคือ การใช้งาน JavaScript นั้นจะไม่รู้เลยว่าโค้ดทำงานถูกต้องหรือไม่ จนกว่าจะนำโปรแกรมไปรันบน Browser แต่ TypeScript จะตรวจสอบข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนที่จะรันโปรแกรมทำให้ทราบได้ว่าโปรแกรมของเรานั้นทำงานผิดพลาดตรงจุดใด
  • Static Type หมายถึง เป็นภาษาที่มีชนิดข้อมูลสืบเนื่องมาจาก JavaScript นั้นเป็นภาษาในรูปแบบ Dynamic Type คือ ตัวแปรที่เก็บข้อมูลนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงชนิดข้อมูลได้ตลอด (ทำให้เกิดบั๊กได้ง่าย) จึงได้มีการพัฒนา TypeScript ขึ้นมาเพื่อกำหนดชนิดหรือประเภทข้อมูลลงในตัวแปรได้

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

TypeScript เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร TypeScript : ต้องมีพื้นฐาน JavaScript

Bootstrap

Frontend Framework ที่รวม HTML, CSS และ JavaScript เข้าด้วยกันเป็นชุดคำสั่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรฐานหรือรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ในส่วนของ User Interface (UI) และทำให้เว็บรองรับการแสดงผลขนาดหน้าจอที่แตกต่างกันอีกด้วย

จุดเด่นของ Bootstrap

  • มี UI ที่สวยงาม
  • โค้ดมีความสวยงามง่ายต่อการพัฒนาเว็บ
  • เรียนรู้ง่ายและเป็นที่นิยมใช้ทั่วโลก มีการพัฒนาและปรับปรุงต่อเนื่อง
  • ประหยัดเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์
  • รองรับการแสดงผลในอุปกรณ์ที่มีหน้าจอต่างขนาดกัน

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Bootstrap เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร Bootstrap : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript

Tailwind CSS

คือ Utility-First CSS Framework ที่ช่วยให้สามารถออกแบบเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วรวมถึงปรับแต่งหน้าเว็บไซต์หรือกำหนดรายละเอียดต่างๆได้ตามความต้องการ เนื่องจากมีคำสั่งหรือ Class สำเร็จรูปที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีโดยที่ไม่จำเป็นต้องเขียน CSS โดยตรง

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

TailwindCSS เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร TailwindCSS : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript

React

คือ ไลบราลี่ ของภาษา JavaScript ที่ใช้สำหรับสร้าง User Interface (UI) หรือหน้าจอของแอพพลิเคชั่น ถูกนำมาใช้สำหรับสร้างหน้าเว็บโดยแบ่งการแสดงผลหน้าเว็บออกเป็นส่วนย่อยหลายๆส่วน โดยที่ไม่ต้องเขียนหน้าเว็บเก็บไว้ในไฟล์เดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จากนั้นค่อยนำส่วนย่อยดังกล่าวมาประกอบกันในภายหลัง เราจะเรียกองค์ประกอบที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆนี้ว่า คอมโพเนนต์ (Component) ข้อดีของการสร้างคอมโพเนนต์ คือ สามารถที่จะออกแบบแล้วนำกลับมาใช้งานในภายหลังได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเขียนใหม่

แนวคิดของ React

  • Component คือ ส่วนประกอบต่างๆที่ถูกนำมาประกอบรวมกันเป็นหน้าเว็บ (คล้ายๆ สร้าง tag ขึ้นมาใช้เอง)
  • State คือ ข้อมูลที่อยู่ภายในคอมโพเนนต์ (Component) แต่ละตัว
  • Props คือ ข้อมูลที่ถูกส่งจากคอมโพเนนต์ (แนวคิดมาจากการกำหนด Attribute หรือ Properties ใน HTML)

สำหรับการสร้าง Component นั้นก็จะมีรูปแบบการเขียนคล้ายๆกับ HTML แต่ React จะใช้ส่วนที่เรียกว่า JSX ในการเขียนซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ HTML มาก โดยการเขียน JSX นั้น คือการเขียนคำสั่ง HTML ในไฟล์ JavaScript

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

React เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร React : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript

Vue

คือ Framework ที่ใช้สำหรับสร้าง User Interface (UI) หรือหน้าจอของแอพพลิเคชั่นในรูปแบบไดนามิกที่สามารถอัพเดตบางส่วนของแอพพลิเคชั่นโดยไม่ต้องโหลดแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

Vue.js หรือเรียกสั้นๆว่า Vue ถูกนำมาใช้สำหรับสร้างหน้าเว็บโดยแบ่งการแสดงผลหน้าเว็บออกเป็นส่วนย่อยหลายๆส่วน โดยที่ไม่ต้องเขียนหน้าเว็บเก็บไว้ในไฟล์เดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จากนั้นค่อยนำส่วนย่อยดังกล่าวมาประกอบกันในภายหลัง เราจะเรียกองค์ประกอบที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆนี้ว่า คอมโพเนนต์ (Component) ข้อดีของการสร้างคอมโพเนนต์ คือ สามารถที่จะออกแบบแล้วนำกลับมาใช้งานในภายหลังได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเขียนใหม่

จุดเด่นของ Vue

  • มีขนาดเล็ก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
  • มีโครงสร้างการเขียนที่ไม่ซับซ้อน
  • แบ่งแอพพลิเคชั่นออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือเรียกว่า Component ง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบ
  • เป็นรูปแบบ Dynamic Webpage หมายถึง เนื้อหาในหน้าเว็บมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • มีเครื่องมือและ plugin ต่างๆให้เลือกใช้งานมากมาย
  • ทำงานข้าม Platform ได้ (Window , Mac , Linux)
  • รองรับการทำงานกับ Browser ได้ทุกตัว เช่น Microsoft Edge , Google Chrome , Safari , Firefox , Opera เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Vue.js เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร Vue : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript

Backend Development

Backend Development คือ การพัฒนาโปรแกรมหลังบ้าน หรือการทำงานเบื้องหลังในแอพ เช่น การทำงานกับฐานข้อมูลโดยผู้ใช้งานไม่สามารถมีส่วนร่วมหรือโต้ตอบได้ ฉะนั้นถ้าต้องการพัฒนาระบบหลังบ้าน ต้องมีพื้นฐาน การจัดการฐานข้อมูล

PHP

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บ เนื้อหาในส่วนนี้จะกล่าวถึงการทำงานเบื้องต้นเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานต่างๆในภาษา PHP สำหรับนำมาพัฒนาเว็บ

  • การนิยามตัวแปร (Variable)
  • ตัวดำเนินการต่างๆ (Operator)
  • โครงสร้างควบคุมพื้นฐาน (Control Structure) สำหรับควบคุมการทำงานต่างๆภายในโปรแกรม
  • การนิยามอาร์เรย์ (Array)
  • ฟังก์ชั่น (Function)
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP)
  • ทำงานร่วมกับฐานข้อมูล (Database)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วยภาษา PHP

ข้อกำหนดหลักสูตร PHP : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript , SQL

Laravel Framework

หมายถึง ชุดเครื่องมือสำเร็จรูปที่มีการจัดวางโครงสร้างโปรเจกต์ PHP และไลบรารีต่างๆไว้เรียบร้อย นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดด้วยตนเองทั้งหมด ทำให้สามารถพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วยภาษา PHP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และ มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Laravel Framework 8.x เบื้องต้น
Laravel Framework 10.x เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร Laravel Framework : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript , SQL ,PHP

Node.js

เป็น ชุดเครื่องมือ ในการแปลคำสั่งของ JavaScript หรือ JavaScript Runtime Environment กล่าวคือ สามารถนำ JavaScript ไปรันใน Windows , Mac , Linux ได้เลยโดยไม่ขึ้นกับ Web Browser และถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานฝั่ง Server เป็นหลักคล้ายๆ กับภาษา PHP , Laravel Framework (PHP) แต่การใช้งาน Node.js จะมีข้อดีคือ ผู้พัฒนาเว็บสามารถควบคุมการทำงานของเว็บทั้งฝั่ง Frontend และ Backend ได้โดยใช้ JavaScript เพียงภาษาเดียว โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้หลายภาษา

ข้อดีของ Node.js

  • ใช้ JavaScript ในการพัฒนาเว็บทั้งฝั่ง Frontend และ Backend
  • ทำงานแบบ Non-Blocking I/O โดยใช้วิธีการแบบ Asynchonous โดยจะไม่รอการตอบสนองแต่ละ Request ให้แล้วเสร็จ แต่จะทำการย้ายการทำงานไปอยู่เบื้องหลัง แล้วรอรับ Request ต่อๆไปทันที
  • แบ่งการทำงานออกเป็นแต่ละโมดูล แล้วนำมาใช้เฉพาะส่วนที่จำเป็น ทำให้โค้ดที่ต้องประมวลผลมีขนาดเล็กลง

Express.js

เป็น Framework ของ JavaScript ที่ใช้งานร่วมกับ Node.js เพื่อสนับสนุนการทำงานของ Web Server ให้มีความง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมี Feature หลายๆอย่างที่น่าสนใจ เช่น Routing การจัดการ Request , Response และ Middleware เป็นต้น

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Node.js & Express เบื้องต้น
จัดการฐานข้อมูลด้วย MongoDB

ข้อกำหนดหลักสูตร Nodejs : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript , MongoDB

C#

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรม เนื้อหาในส่วนแรกจะกล่าวถึงการทำงานเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานต่างๆในภาษา C# เช่น

  • การนิยามตัวแปร (Variable)
  • ตัวดำเนินการต่างๆ (Operator)
  • โครงสร้างควบคุมพื้นฐาน (Control Structure)
  • การนิยามอาร์เรย์ (Array)
  • เมธอด (Method)
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา C#

ASP.NET Core MVC

เป็นเฟรมเวิร์คในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่มีทั้งระบบหน้าบ้าน (Front-End) และ ระบบหลังบ้าน (Back-End) รวมอยู่ในโปรเจกต์เดียวกันโดยใช้ สถาปัตยกรรม MVC (Model-View-Controller) และเขียนด้วย ภาษา C#

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาเว็บด้วย ASP.NET Core MVC

ข้อกำหนดหลักสูตร ASP.NET Core : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript , C# , SQL

Java

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรม เนื้อหาในส่วนแรกจะกล่าวถึงการทำงานเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานต่างๆในภาษา Java

  • การนิยามตัวแปร (Variable)
  • ตัวดำเนินการต่างๆ (Operator)
  • โครงสร้างควบคุมพื้นฐาน (Control Structure)
  • การนิยามอาร์เรย์ (Array)
  • เมธอด (Method)
  • คอลเลคชั่น (Collections)
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา Java
เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย Java (OOP)

Spring Framework

หมายถึง ชุดเครื่องมือสำเร็จรูปที่มีการจัดวางโครงสร้างพื้นฐานของแอพพลิเคชั่นและไลบรารีต่างๆไว้เรียบร้อย ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยภาษา Java สำหรับใช้เขียน Web และ Back-End Application รวมถึง Microservices นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดด้วยตนเองทั้งหมด ทำให้สามารถพัฒนาระบบได้ง่ายมีความปลอดภัยและทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Spring Boot เป็นชุดเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชั่น ทำงานอยู่บนพื้นฐานของ Spring Framework

ความสามารถของ Spring Boot

  • มีชุด Starter Library / Dependencies Starter อำนวยความสะดวกในการจัดการไลบราลี่ที่ใช้งานในแอพพลิเคชั่น
  • มี Auto Configuration ลดขั้นตอนการตั้งค่าการใช้งานต่างๆ
  • มี Built-in Server ในตัว (Embeded Application Server) สามารถรันตัวเองได้โดยไม่พึ่งพา Application Server จากภายนอก

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Spring Boot เบื้องต้น
พัฒนา REST API ด้วย Spring Boot

ข้อกำหนดหลักสูตร Spring Boot : ต้องมีพื้นฐาน Java , OOP , SQL , JSON , Postman

Python

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการพัฒนาโปรแกรม เนื้อหาในส่วนแรกจะกล่าวถึงการทำงานเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานต่างๆในภาษา Python เช่น

  • การนิยามตัวแปร (Variable)
  • ตัวดำเนินการต่างๆ (Operator)
  • โครงสร้างควบคุมพื้นฐาน (Control Structure)
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา Python
เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยภาษา Python (OOP)

Django Framework

คือ Framework สำหรับสร้าง Web Application ฝั่ง BackEnd ที่พัฒนาด้วยภาษา Python

จุดเด่นของ Django Framework

  • ใช้ภาษา Python ในการพัฒนา มีรูปแบบการเขียนโค้ดที่ไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่ายอีกทั้งยังเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
  • แยกการทำงานออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยใช้สถาปัตยกรรม MVT (Model-View-Template)
  • ใช้งานได้อย่างอิสระ สามารถปรับปรุงแก้ไข หรือ กำหนดวิธีการทำงานใหม่ได้ตามความต้องการ

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Django Framework

ข้อกำหนดหลักสูตร Django Framework : ต้องมีพื้นฐาน Python , OOP , HTML5 , CSS3 , JavaScript , Bootstrap5 , SQL

Flask Framework

คือ Micro Web framework สำหรับการพัฒนาเว็บด้วยภาษา Python รองรับ Web Server Gateway Interface (WSGI) โดยสาเหตุที่เรียกว่า Micro Web Framework ก็คือโครงสร้างเว็บ ไม่ซับซ้อน มีขนาดเล็ก ไม่ต้องการเครื่องมือหรือไลบราลี่อะไรมากมายเหมือน Framework เจ้าอื่นๆ เขียนคำสั่งไม่กี่บรรทัดก็สามารถทำงานได้เลย

ข้อดีของ Flask

  • ทำเว็บได้อย่างรวดเร็ว
  • มีขนาดเล็กเพราะไม่ได้พึ่งไลบราลี่เยอะ
  • มีความยืดหยุ่นสูง
  • มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนง่ายต่อการทำเว็บ
  • มี Community ขนาดใหญ่
  • ไม่ต้องทำ Server เพราะมี built-in ในตัวสามารถเขียนและทดสอบได้เลย

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Flask Micro Web Framework

ข้อกำหนดหลักสูตร Flask Framework : ต้องมีพื้นฐาน Python , OOP , HTML5 , CSS3 , JavaScript , Bootstrap5 , SQL

Backend as a Service (BaaS)

Firebase

เป็นบริการของ Google ที่ให้ บริการเกี่ยวกับการจัดการระบบหลังบ้าน (Backend Services) โดยรวบรวมเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น ทั้งในส่วนของ Mobile Application, Web Application เป็นต้น การใช้บริการของ Firebase ช่วยลดภาระและระยะเวลาในการพัฒนาระบบหลังบ้านเองและทำให้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างบริการของ Firebase

  • Realtime Database , Cloud Firestore (บริการฐานข้อมูล)
  • Authentication (บริการเกี่ยวกับการจัดการผู้ใช้งาน)
  • Cloud Message (บริการเกี่ยวกับระบบแจ้งเตือน)
  • Cloud Storage (บริการเกี่ยวกับไฟล์)
  • Hosting (บริการเกี่ยวกับการเผยแพร่แอพพลิเคชั่น)
  • Performance Monitoring & Google Analytic (วิเคราะห์ประสิทธิภาพ การทำงานของแอพพลิเคชั่น)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Firebase เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร Firebase : ต้องมีพื้นฐาน HTML5 , CSS3 , JavaScript , Bootstrap

Static Site Generators

Next.js

Next.js เป็น React Web Framework เพื่อแก้ปัญหาสำหรับเว็บที่ต้องการทำ SEO ( Search Engine Optimization) คือทำให้เว็บติดหน้าแรกของ Search Engine เป็นการทำให้เว็บค้นหาผ่าน Google เจอได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Next.js นั้นช่วยทำ SSR (Server Side Rendering)

จุดเด่นของ Next.js

  • Server Side Rendering (SSR)
  • Static Site Generation (SSG) ทำการ build และ Render HTML จากฝั่ง Server แล้วส่ง HTML ไปทำงานที่ฝั่ง Client
  • Hot Reload (แก้ไขการทำงานแล้วเห็นผลทันที)
  • Routing สามารถจัดการ Routing ง่ายๆผ่าน File System (Pages)
  • Optimization จัดการเรื่อง Performance (ทำให้เว็บทำงานเร็วขึ้น)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Next.js เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร Next.js : ต้องมีพื้นฐาน React

Nuxt.js

Nuxt.js เป็น JavaScript Framework ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Vue.js เพื่อแก้ปัญหาสำหรับเว็บที่ต้องการทำ SEO (Search Engine Optimization) คือทำให้เว็บติดหน้าแรกของ Search Engine ทำให้เว็บค้นหาแล้วเจอได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Nuxt.js นั้นช่วยทำ SSR (Server Side Rendering)

จุดเด่นของ Nuxt.js

  • Server Side Rendering (SSR)
  • Static Site Generation (SSG) ทำการ build ไฟล์ vue.js ทั้งหมดออกมาเป็นไฟล์ HTML / CSS / JavaScript (Static Website)
  • Hot Reload (แก้ไขการทำงานแล้วเห็นผลทันที)
  • Routing สามารถจัดการ Routing ง่ายๆผ่าน File System (Pages)
  • รองรับการทำงานกับ TypeScript

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Nuxt.js เบื้องต้น

ข้อกำหนดหลักสูตร Nuxt.js : ต้องมีพื้นฐาน Vue.js

Git & GitHub

Git เป็น Version Control รูปแบบ Distributed Version Control System (DVCS) ใช้สำหรับติดตาม ตรวจสอบการแก้ไขไฟล์ หรือ Source Code ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทุกตัวอักษร ทุกบรรทัด ทุกไฟล์ พร้อมทั้งระบุว่าไฟล์ดังกล่าวถูกปรับปรุงแก้ไข ณ ช่วงเวลาใด และใครเป็นผู้แก้ไขทำให้นักพัฒนาสามารถติดตาม การเปลี่ยนแปลงของโค้ดได้ตลอด หรือแม้กระทั่งย้อนเวลาโค้ดกลับไปก่อนตอนที่จะพังก็ยังทำได้ ดังนั้น Git จึงเหมาะสำหรับนักพัฒนาไม่ว่าจะเป็นงานเเบบเดี่ยวหรือแบบทีมเพราะสามารถเรียกดูได้ ว่าคนในทีมใครเป็นคนเขียนหรือใครเป็นคนแก้ไขโปรเจกต์ในแต่ละส่วน

GitHub เป็นเว็บเซิฟเวอร์ที่ให้บริการในการฝากไฟล์ Git หรือ Git ที่ทำงานบนเว็บไซต์ ทำให้สามารถใช้ Git ร่วมกับคนอื่นได้ผ่านเว็บไซต์ซึ่งจะมักนิยมใช้เก็บ Project Open Source ต่างๆ

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Git & GitHub เบื้องต้น

Postman

คือ เครื่องมือสำหรับทดสอบระบบ API ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจสอบว่า API ของเรานั้นสามารถทำงานแล้วได้ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Postman เบื้องต้น

--

--

KongRuksiam Studio
KongRuksiam Studio

Written by KongRuksiam Studio

เรียนรู้การเขียนโปรแกรมนอกห้องเรียน

No responses yet